pkhardware

ฉนวนกันความร้อน

 

ฉนวนกันความร้อน BB Kool และ ระบบระบายอากาศ วัสดุปิดรอยต่อหลังคา สำหรับบ้านยุคใหม่

 

 

ลดความร้อน ให้บ้านเย็น ประหยัดไฟ ไม่เปลืองแอร์


เป็นฉนวนกันความร้อนสำหรับงานหลังคาและผนังอาคารยุคใหม่ มีชั้นเคลือบอลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์ 2ด้าน

#สะท้อนความร้อนถึง 97% #และแผ่รังสีต่ำ 3%

 

แกนกลางเป็น โพลีเอทิลีน (PE) หน่วงการติดไฟและช่วยดูดซับเสียง

 

❄❄❄❄❄❄❄❄

 

 

 

  • น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย
  • ไม่ลามไฟ
  • ป้องกันน้ำและความชื้น
  • ไม่มีโพรงอากาศที่เป็นที่อาศัยของแมลงหรือนก
  • ลดเสียงรบกวน เช่น เสียงฝนตกลงบนหลังคา

 

 

วัสดุปิดรอยต่อหลังคา EAZYFLASH เป็นวัสดุปิดครอบแนวต่อหลังคา ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

 

สามารถทดแทนการปิดครอบแนวรอยต่อ แบบเดิมที่ใช้ โดยเฉพาะจุดที่พบปัญหารั่วซึมและการผุกร่อนจากสนิม

 

 

ระบบระบายอากาศ SOLAR WHIZ เป็นระบบระบายอากาศ ลดความร้อนเข้าสู่บ้าน และอาคาร

 

ที่พร้อมกับลดพลังกงานไฟฟ้า สามารถที่จะขับเคลื่อนด้วยระบบ solar cell ทำให้ลดค่าไฟ คุ้มค่าในระยะยาวอีกด้วย

 

***เคล็ดลับดีๆ สำหรับการปูฉนวนกันความร้อน***

รูปแบบการติดตั้งฉนวนกันร้อน

1 | ติดตั้งบนฝ้า สำหรับฉนวนแบบม้วนวางบนฝ้าเพดาน ที่นิยมคือพอลิเอทิลีนโฟม,พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์, พอลิยูรีเทนโฟม และฉนวนใยแก้วจะมีความหนาและหุ้มด้วยวัสดุกันความชื้นอย่างแผ่นฟอยล์ ช่วยหน่วงความร้อนไม่ให้สะสมในส่วนใต้หลังคาแต่ต้องมีช่องระบายความร้อนออกตรงฝ้าชายคาบ้านด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมใต้หลังคามากเกินไป

2 | ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา ฉนวนที่ติดตั้งใต้แผ่นหลังคาได้แก่ ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น อะลูมิเนียมฟอยล์ พอลิเอทิลีนโฟม,พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์ และฉนวนชนิดฉีดพ่น พอลิยูรีเทนโฟมและเยื่อกระดาษ ทำหน้าที่หน่วงความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคา ฉนวนแบบนี้ต้องติดตั้งไปพร้อมๆ กับสร้างหลังคาตั้งแต่สร้างบ้าน ในเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยม แต่การติดตั้งใต้แผ่นหลังคาสามารถกันความร้อนได้ดีที่สุด

3 | ติดตั้งบนหลังคา ฉนวนที่ติดตั้งบนแผ่นหลังคาได้แก่ สีสะท้อนความร้อน ซึ่งจะสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคาบ้าน การติดตั้งแบบนี้แนะนำให้ใช้เป็นตัวเสริมกับการติดตั้งฉนวนแบบอื่นๆ เนื่องด้วยการทาสีมีพื้นผิวที่บางและหากเกิดคราบสกปรกประสิทธิภาพการสะท้อนแสงจะลดลง

 

ประเภทของวัสดุฉนวนกันความร้อน

              ทางเลือกที่หลากหลายและมีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่นเดียวกับฉนวนกันร้อนที่มีให้เลือกหลายชนิด หากแบ่งตามคุณสมบัติ ฉนวนกันร้อนจะมี 2 หน้าที่ด้วยกันคือดูดซับความร้อน และสะท้อนความความร้อน ซึ่งแต่ละวัสดุก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป ในท้องตลาดแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ แบบแผ่น และแบบพ่น ดังนี้

ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น

ติดตั้งได้ง่ายอย่างปูบนฝ้าเพดาน ติดในโครงผนังเบา ติดบนแป หรือติดใต้จันทัน ลักษณะของฉนวนกันร้อนประเภทนี้จะจำหน่ายเป็นม้วน มีความหนาและค่ากันความร้อนแตกต่างกัน ขนาดความยาวต่อม้วนและราคาจะแตกต่างกันตามวัสดุด้วย ฉนวนในกลุ่มนี้ได้แก่

1 ฉนวนใยแก้ว (Fiber Glass) เป็นประเภทฉนวนกันร้อนที่ได้ยินชื่อบ่อยๆและมีจำหน่ายในท้องตลาดหลากหลายยี่ห้อ ลักษณะของฉนวนใยแก้วจะเป็นแผ่นหนาหุ้มด้วยแผ่นฟอยล์ ซึ่งภายในประกอบไปด้วยใยแก้วเส้นเล็กที่ประสานตัวเกิดเป็นช่องโพรงอากาศซึ่งทำหน้าที่เก็บความร้อนไว้ภายในนั่นเอง ทั้งยังช่วยดูดซับเสียง ไม่ลุกติดไฟ ติดตั้งง่าย มีทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น และมีหลายยี่ห้อให้เลือกซึ่งราคาและคุณภาพใยแก้วก็แตกต่างกันออกไปด้วย

2 อลูมิเนียม ฟอยล์ (Aluminium Foil) เราอาจจะเคยใช้แผ่นฟอยล์สำหรับห่ออาหารเพื่อป้องกันไม้ให้อาหารไหม้ขณะปิ้งย่าง การป้องกันความร้อนให้บ้านก็เช่นกัน แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์เป็นวัสดุที่ช่วยสะท้อนความร้อนออกจากตัวบ้าน ซึ่งถูกทำให้หนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี มีลักษณะเหนียวคงทน ไม่ขาดง่าย

3 อลูมิเนียม ฟอยล์ (Aluminium Foil) เราอาจจะเคยใช้แผ่นฟอยล์สำหรับห่ออาหารเพื่อป้องกันไม้ให้อาหารไหม้ขณะปิ้งย่าง การป้องกันความร้อนให้บ้านก็เช่นกัน แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์เป็นวัสดุที่ช่วยสะท้อนความร้อนออกจากตัวบ้าน ซึ่งถูกทำให้หนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี มีลักษณะเหนียวคงทน ไม่ขาดง่าย

4 โพลีเอธิลีน โฟม (Polyethylene Foam) หรือโฟม PE เป็นอีกรูปแบบฉนวนกันร้อนที่ถูกเลือกมาใช้ในบ้าน ด้วยราคาที่ต่ำกว่าฉนวนใยแก้ว ลักษณะของโฟม PE เป็นแผ่นเหนียวนุ่มมีความหนา หุ้มด้วยแผ่นฟอยล์บางๆ เคลือบผิวอีกชั้น ต้านทานความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบา เหนียว และทนต่อแรงกระแทกได้ดี ** แนะนำ **

5 โพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam) หรือโฟม PS หรือ EPS เรียกกันง่ายๆว่าโฟมขาว สามารถกันได้ทั้งความร้อนและความเย็น ในท้องตลาดมีจำหน่ายในแบบแยกแผ่นและเป็นฉนวนโฟมที่ติดคู่กับแผ่นยิปซัม เป็นวัสดุน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย จึงทำให้การติดตั้งสะดวกและรวดเร็ว สามารถทำเป็นฝ้าเพดานชั้นใต้หลังคาได้โดยไม่ต้องมีฉนวนอื่นเพิ่ม ช่วยลดขั้นตอนในการในการก่อสร้างได้จึงนิยมติดตั้งตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างบ้าน

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


 

เพิ่มเติมได้ที่ Facebook P.K.Hardware

 

https://www.facebook.com/PK-hardware-center-593748427328974/

 

และ facebook fanpage ลวดตาข่าย กดได้ที่นี่ หรือ www.pksteelgroup.com

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

#ฉนวนกันความร้อน #ฉนวนBBCOOL #ฉนวนราคาประหยัด